โรคผลเน่าของทุเรียน ที่มีสาเหตุจากเชื้อราไฟทอปธอร่า (ไฟทอปลงผล) 

โรคผลเน่าของทุเรียน ที่มีสาเหตุจากเชื้อราไฟท็อปธอร่า (Phytophthora palmivora) เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีความสำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออกเป็นอย่างมาก เนื่องจากเชื้อราไฟทอปธอร่า ที่พบบนผลทุเรียนเป็นเชื้อราชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่า ดังนั้น ในสวนทุเรียนที่มีการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าจะมีโอกาสเกิดโรคผลเน่าจากเชื้อราไฟท็อปธอร่าได้สูง โดยเฉพาะในต้นทุเรียนที่มีอาการโรครากเน่าโคนเน่าที่บริเวณกิ่งที่ให้ผลผลิต 

เชื้อราไฟทอปธอร่า สามารถเข้าทำลายผลทุเรียนได้ ตั้งแต่ระยะผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่ และหลังการเก็บเกี่ยว แต่มักพบเชื้อราเข้าทำลายระยะผลใกล้แก่ หรืออายุผล 65 วันขึ้นไป หลังระยะหางแย้ไหม้ การเข้าสู่ผลของเชื้อรา เกิดขึ้นจากเชื้อราสาเหตุที่อาศัยอยู่ในดิน เมื่อมีลมกรรโชกและฝนตก น้ำฝนและลมจะพัดพาสปอร์ของเชื้อราไปสัมผัสผลทุเรียน หรือเกิดจากเชื้อราสาเหตุที่เข้าทำลายใบและกิ่งทุเรียนอยู่แล้ว เมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูง ฝนชุก เชื้อราสาเหตุจะแพร่เข้าสู่ผลทุเรียน  

ในระยะแรกผลที่ติดเชื้อราสาเหตุ จะแสดงอาการจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาลดำฉ่ำน้ำ ที่เปลือกผลหรือก้นผลทุเรียน ต่อมาเมื่อแผลลุกลามจะพบลอยแตกระหว่างร่องหนาม พบเส้นใยสีขาวฟูเป็นแผลงและอาจพบ ต่อมาผลจะหลุดร่วงก่อนกำหนด เมื่อผ่าดูภายในผลจะพบเนื้อเยื้อโดยรอบของเปลือกเน่าช้ำสีน้ำตาล ส่วนเนื้อเยื้อจะเน่าและมีสีเหลืองปนน้ำตาลแล้วลุกลามไปหมดทุกพู มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว นอกจากนั้น ยังมักพบอาการดังกล่าว หลังการเก็บเกี่ยวเมื่อผลเริ่มสุกแก่ ซึ่งเป็นอาการที่เข้าทำลายผลทุเรียนในลักษณะ “เชื้อแฝง 

 

การป้องกันกำจัด  

ควรพ่น การัน (azoxystrobin 25% SC, สารป้องกันกำจัดโรคพืช กลุ่ม 11) ในอัตรา 10-15 มล. หรือ สโตรดี้ (azoxystrobin 20%+difenoconazole 12.5% SC) ในอัตรา 10-15 มล. สลับ หรือผสมร่วมกับ อาร์นิลีน (cymoxanil 8%+mancozeb 64% WP) อัตรา 25-50 กรัม และควรผสม คอมโปเนนท์-บี (oxirane, 2-methyl-, polymer with oxirane, mono (2-propylheptyl) ether 100%, สารเสริมประสิทธิภาพ)​ ด้วย ในอัตรา 10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร  

โดยพ่น การัน หรือ สโตรดี้ สลับ/ผสมร่วมกับ อาร์นิลีน และผสม คอมโปเนนท์-บี ทุก ๆ 14-21 วัน เมื่อผลอายุ 45 วัน หลังหางแห้ไหม้ หรือพ่นเมื่อพบการระบาดทุก ๆ 10-14 วัน

 

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 


Number of visitors : 1968534 Views

Sitemap