ยักษ์ใหญ่ เตือนเกษตรกรเฝ้าระวัง “โรคเมล็ดด่าง” หรือ “โรคเมล็ดลาย” ของข้าว ซึ่งโรคเมล็ดด่างมักพบอาการของโรคตั้งแต่ข้าวเริ่มออกรวง โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพอากาศชื้น ท้องฟ้าครึ้มติดต่อกัน หรือในแปลงข้าวที่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง หว่านข้าวหนาแน่น (กอแน่น ต้นข้าวชิดกันมาก) โรคเมล็ดด่าง จะทำให้เมล็ดข้าวลีบ ผลผลิตลดลงทั้งคุณภาพและปริมาณ ควรป้องกันโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชตั้งแต่ระยะข้าวเริ่มตั้งท้อง และพ่นอีกครั้งในระยะรวงข้าวเริ่มโง้ง

สาเหตุของโรคเมล็ดด่าง

โรคเมล็ดด่าง หรือโรคเมล็ดลาย (Dirty panicle disease) ในนาข้าว มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราหลายชนิด ที่พบมากมีเชื้อราประมาณ 6 ชนิด ได้แก่ Curvularia lunata, Cercospora oryzae, Bipolaris oryzae, Fusarium semitectum, Trichoconis padwickii, Sarocladium oryzae ซึ่งสามารถพบการระบาดของโรคได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยและทุกฤดูการเพาะปลูก เกษตรกรควรหมั่นเฝ้าสังเกตอาการของโรค หรือพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชป้องกันไว้ก่อน

ลักษณะอาการของโรค

อาการของโรค จะพบแผลสีต่าง ๆ เช่น เป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำ หรือมีลายสีน้ำตาลดำ หรือสีเทาปนชมพูที่เมล็ดบนรวงข้าว เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลาย การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวง  จนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะเห็นได้เด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลมหรือติดไปกับเมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งการระบาดจะสัมพันธ์กับโรคของต้นข้าวในระยะก่อนออกรวง เช่น โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบขีดสีน้ำตาล และโรคไหม้ เป็นต้น นอกจากนี้จะพบช่วงข้าวออกรวงในสภาพอุณหภูมิ ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียล ทำให้รวงข้าวยืดออกไม่สุดรวง เมื่อสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้ข้าวเป็นโรคเมล็ดด่าง

การป้องกันกำจัดโรค

  1. ช่วงข้าวตั้งท้อง ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเพื่อป้องกันโรคเมล็ดด่าง ด้วย สโตรดี้ (azoxystrobin 20% + difenoconazole 12.5% SC) ในอัตรา 50-60 มิลลิลิตร ต่อไร่ หรืออัตรา 15-20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  2. ช่วงรวงข้าวเริ่มโง้ง ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเพื่อป้องกันโรคเมล็ดด่างและส่งเสริมรวงข้าวให้เหลืองสม่ำเสมอทั้งรวง ด้วย แอ็กโซน (difenoconazole 15% + propiconazole 15% EC) ในอัตรา 50-60 มล. ต่อไร่ หรือ อัตรา 15-20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
  3. หากมีการสำรวจพบโรคเมล็ดด่าง พ่นด้วย สโตรดี้ หรือ แอ็กโซน อัตราตามคำแนะนำข้างต้น และควรผสมร่วมกับ ร่วมกับ แอ็กซ่า (kasugamycin 2% SL) อัตรา 80-120 มล. ต่อไร่ หรืออัตรา 30-40 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือผสมร่วมกับ เดซี่ (propineb 70% WP) อัตรา 100-120 กรัม ต่อไร่ หรืออัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันและลดการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรคพืช

(การพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช แนะนำให้ผสมสารเสริมประสิทธิภาพ คอมโบเนนท์บี อัตรา 5-10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ด้วยทุกครั้ง)

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง


Number of visitors : 1882956 Views

Sitemap