เตือนภัยเกษตรกร!! โรคไหม้คอรวง

          เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เฝ้าระวังโรคไหม้คอรวงในข้าว ซึ่งเป็นโรคชนิดเดียวกับโรคไหม้ที่เกิดขึ้นที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้นข้าว ที่พบในระยะกล้าข้าวและระยะข้าวแตกกอ โดยสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pyricularia oryzae Cavara, (1891) ซึ่งมีชื่อพร้อง (Synonyms) อาทิเช่น Magnaporthe grisea, Ceratosphaeria grisea, Dactylaria grisea, Dactylaria oryzae, Phragmoporthe grisea, Pyricularia grisea Sacc., Pyricularia grisea, Trichothecium griseum, Trichothecium griseum

ลักษณะอาการ

          ลักษณะอาการจะเป็นแผลจุด กว้างประมาณ 2-5 มม. และยาว 10-15 มม. รูปร่างของแผลคล้ายรูปตา ขอบแผลมีสีน้ำตาล ตรงกลางแผลเป็นสีขาวอมเทา หรือสีเทา ในกรณีถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มออกรวง จะทำให้เมล็ดข้าวรวงนั้นเมล็ดลีบทั้งหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำ แผลสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้คอรวงเปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหาย เมล็ดข้าวบางส่วนจะลีบ ไม่มีน้ำหนัก ผลผลิตของข้าวไม่ดีเท่าที่ควร

          นอกจากนี้ ในระยะข้าวตั้งท้องถึงระยะข้าวออกรวง อาจพบ โรคกาบใบเน่า (Sheath rot disease) ที่บริเวณกาบใบที่ห่อรวงข้าว สาเหตุเกิดจากเชื้อ Sarocladium oryzae Sawada โดยหากเชื้อราเข้าทำลายระยะข้าวตั้งท้อง มักจะทำให้รวงข้าวโผล่ออกมาไม่พ้นกาบหุ้มรวง หรืออาจโผล่ได้บางส่วน แต่เมล็ดจะลีบและดำ ลักษณะของแผลรูปร่างกลมรี มีขนาด 2-7x4-18 มม. ขอบแผลสีน้ำตาลแดงเข้ม ตรงกลางแผลเป็นสีเทา

การแพร่ระบาด

          โรคไหม้คอรวง พบได้มากในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่นหรือแปลงข้าวที่หว่านเมล็ดข้าวหนาแน่นมากเกินไป การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราสูงหรือมากเกินไป ทำให้โรคนี้มีการระบาดเร็วขึ้น สภาพอากาศในตอนกลางวันร้อนและในตอนกลางคืนมีสภาพชื้นสูงจะส่งผลให้มีการระบาดของโรค โดยกระแสลมแรงจะเป็นตัวช่วยในการแพร่กระจายโรคได้ดี  นอกจากนี้การระบาดโรคไหม้คอรวงจะสัมพันธ์กับโรคของต้นข้าวในระยะก่อนออกรวง เช่น โรคใบขีดสีน้ำตาล ใบจุดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง หรือโรคขอบใบเน่า เป็นต้น

การป้องกันกำจัด

  1. ใช้ข้าวพันธุ์ต้านทานโรคไหม้ เช่น พันธุ์ กข5 กข11 กข27 กข33 (หอมอุบล80) กข37 กข41 กข43 กข47 ชัยนาท1 สันปาตอง1 สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี3 สุพรรณบุรี60 สุพรรณบุรี90 คลองหลวง1 และปทุมธานี1
  2. หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตราที่เหมาะสม ไม่หว่านแน่นเกินไป โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว อัตรา 15-20 กิโลกรัมต่อไร่
  3. ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลง หรือลดการใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) และเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
  4. หมั่นสำรวจแปลงข้าว และหากพบอาการของโรคควรรีบพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชทันที ดังนี้

            4.1 ระยะกล้าข้าว-ข้าวแตกกอ ควรพ่นป้องกันด้วย แอ็กวิล (hexaconazole 5% SC) อัตรา 80-120 มล. ต่อไร่ หรือ แอ็กซ่า (Kasugamycin 2% SL) อัตรา 80-120 มล. ต่อไร่ ควรผสมแอ็กวิล หรือแอ็กซ่า ร่วมกับ เดซี่ เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา โดยผสม เดซี่ (propineb 70% WP) อัตรา 100-120 กรัม ต่อไร่

            4.2 ระยะข้าวตั้งท้อง-ข้าวออกรวง ควรพ่นป้องกันด้วย สโตรดี้ (azoxystrobin 20%+difenoconazole 12.5% SC) อัตรา 50-60 มล. ต่อไร่

            4.3 หากช่วงระยะข้าวที่กล่าวมา ขาดการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและมีการสำรวจพบอาการของโรค แนะนำพ่น สโตรดี้ (azoxystrobin 20%+difenoconazole 12.5% SC) อัตรา 50-60 มล. ต่อไร่ และควรผสมร่วมกับ ร่วมกับ แอ็กซ่า (kasugamycin 2% SL) อัตรา 80-120 มล. ต่อไร่ หรืออัตรา 30-40 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือผสมร่วมกับ เดซี่ (propineb 70% WP) อัตรา 100-120 กรัม ต่อไร่ หรืออัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันและลดการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรคพืช

(การพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช แนะนำให้ผสมสารเสริมประสิทธิภาพ คอมโบเนนท์บี อัตรา 5-10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ด้วยทุกครั้ง)

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง


Number of visitors : 1913580 Views

Sitemap