?เตือน! ฝนชุก-ดินแฉะ-น้ำขัง... เตรียมรับมือกับ “เชื้อราไฟทอปธอรา” สาเหตุโรครากเน่าโคนเน่า โรคใบไหม้ดำ และโรคผลเน่าในทุเรียน ?

เนื่องจากเชื้อไฟทอปธอรา เป็นเชื้อราก่อโรคที่อาศัยอยู่ในดินและเข้าทำลายทุเรียนได้ทุกส่วน แม้แต่ส่วนของใบ หรือผล ที่อยู่สูงจากพื้น

เชื้อราไฟทอปธอรา จะสร้างซูโอสปอร์ (zoospore) และคลามายโดสปอร์ (chlamydospore) ไว้ในดิน ต่อเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสมและรากพืชเจริญเข้ามาใกล้สปอร์ ๆ จะสร้างเส้นใยแทงเข้าทางปลายรากฝอยและทำลายระบบท่อลำเลี้ยงของทุเรียนจากบริเวณรากและโคนต้นก่อน แล้วจึงลุกลามแพร่สู่ส่วนที่อยู่สูงขึ้นไป หรือในสภาวะที่ฝนตกชุกและความชื้นสูง คลามายโดสปอร์จะสร้างเส้นใย แล้วเส้นใยนั้นจะผลิตซูโอสปอร์ หรือซูโอสปอร์ที่อาศัยในดินอยู่แล้วจะโผล่พ้นเหนือดิน และแพร่กระจายไปในอากาศโดยลม ไปกับน้ำหรือฝน ทำให้ส่วนอื่น ๆ ของต้นทุเรียนไม่ว่าจะเป็นใบ กิ่ง ยอดอ่อน หรือผลติดโรคได้

ซูโอสปอร์ (zoospore); สปอร์ที่สามารถเคลื่อนที่ไปกับน้ำได้ดี
คลามายโดสปอร์ (chlamydospore); สปอร์ผนังหนา ที่สามารถพักตัวอยู่ในดินได้นานและทนต่อสภาพแวดล้อม

ส่วนต่าง ๆ ของทุเรียนที่ติดโรคจากเชื้อราไฟทอปธอรา จะมีชื่อเรียกของโรคตามส่วนของต้นที่เกิดโรค เช่น
? โรครากเน่าโคนเน่า: เกิดการติดเชื้อที่บริเวณราก โคนต้น หรือส่วนของลำต้น
? โรคใบไหม้ไฟทอปธอรา: เกิดการติดเชื้อที่ใบ โดยลม น้ำหรือฝนเป็นตัวนำพาเชื้อมาสัมผัสกับใบ แผลไหม้จะมีสีดำ หรือเทาอมดำ
? โรคกิ่งเน่าตาย หรือโรคกิ่งเน่า (กรณี สาเหตุติดเชื้อไฟทอปธอรา) : การติดเชื้ออาจเกิดจากการลุกลามของโรคจากบริเวณลำต้น หรือติดมากับลม-ฝน
? โรคผลเน่า (กรณี สาเหตุติดเชื้อไฟทอปธอรา) : เกิดติดเชื้ออาจเกิดได้ทั้งแบบโรคกิ่งเน่าตาย โดยผ่านทางขั้วผล หรือติดมากับลม-ฝน

? พี่ยักษ์ใหญ่ขอแนะนำผู้ช่วยคนใหม่ “แอ็กมีทิล” สารป้องกันกำจัดโรคพืช เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมี กลุ่ม phosphonates ที่มีคุณสมบัติอันโดดเด่น ดังนี้
มีฤทธิ์ดูดซึม แบบสมบูรณ์ (Truly systemic) คือ สามารถเคลื่อนย้ายในต้นพืชได้ทุกทิศทางผ่านระบบท่อลำเลี้ยงของพืช
✔ ดูดซึม-แทรกซึมเข้าสู่ต้นพืชได้อย่างรวดเร็ว
✔ ระยะปลอดฝนสั้น
✔ ดูดซึมผ่านรากได้ดี
✔ ปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัสที่จำเป็นแก่พืช
✔ กระตุ้น การสร้างภูมิต้านทานโรค
✔ ลดความเป็นด่างของน้ำ หรือกรณี ราดโคนช่วยลดความเป็นด่างของดิน
✔ เสริมสร้างพลังงานแก่พืช ในรูปของสารประกอบ ATP

?พ่น “แอ็กมีทิล” อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ลำต้น กิ่ง และผล โดยพ่นทุก 7-14 วัน หรือ ใช้ทาบริเวณราก โคนต้น ลำต้น และกิ่ง ที่มีอาการแผลเน่าและบริเวณข้างเคียง โดยใช้ “แอ็กมีทิล” อัตรา 80-100 กรัม ผสม คอมโบเนนท์-บี อัตรา 10-20 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร


Number of visitors : 1882378 Views

Sitemap