"เพลี้ยหอยบนใบทุเรียน"
เพลี้ยหอยสีขาวบนใบทุเรียน หรือเพลี้ยหอยขาวมะม่วง (white mango seales) ชื่อวิทยาศาสตร์: Aulacaspis tubercularis (Newstead, 1906)
ลักษณะการเข้าทําลาย
เพลี้ยหอยชนิดนี้เข้าดูดกินน้ำเลี้ยงบนใบ กิ่งอ่อนของทุเรียน เมื่อพลิกดูใต้ใบส่วนที่เพลี้ยหอยดูดกินจะเป็นรอยด่างสีเหลือง ทำให้ใบทรุดโทรม ใบร่วง น้ำหวานที่เพลี้ยหอยขับออกมาขณะดูดกิน ทําให้มีเชื้อราดําขึ้นปกคลุมใบ
ลักษณะรูปร่าง
เพลี้ยหอยเพศเมีย
มีรูปร่างกลมแบน สีขาวและมักจะพบคราบของตัวอ่อนเป็นสีเทาอยู่ด้านหลัง ตัวเมียแต่ละตัวผลิตไข่ประมาณ 50 ฟอง ภายใต้แผ่นไขสีขาวที่ห่อหุ่มเมื่อฟักออกเป็นตัวอ่อนจะเคลื่อนย้ายไปยังส่วนที่เป็นอาหารใบใหม่
เพลี้ยหอยเพศผู้
สร้างไขเป็นเกาะคุมตัว รูปร่างเป็นแท่ง สีขาว
การป้องกันกำจัด
เมื่อพบการเข้าทำลายของเพลี้ยหอย ฉีดพ่นด้วย เอเจนต้า (profenofos 50% EC I สารกำจัดแมลงกลุ่ม 1B) สูตรน้ำมันละหุ่ง ซึ่งช่วยฆ่าไข่ เคลือบผิวไขเกาะเพลี้ยหอย สารออกฤทธิ์แทรกซึมเข้ากำจัดเพลี้ยหอยโดยตรงอัตราใช้ 20-25 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หากพ่นอัตรา 30-40 มล. สามารถใช้กำจัดเพลี้ยไฟได้ดี