เกษตร​กร​ชาวสวนหอม กระเทียม มักประสบ​ปัญหา​การระบาดของโรคหมานอน หอมเลื้อย หรือโรคแอนแทรคโนส (Anthracnose disease) สาเหตุเกิดจาก​เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc.  

          โรคแอนแทรคโนส อยู่ในจีนัส Colletotrichum สร้างความสูญเสียกับพืชเศรษฐกิจมากถึง 470 สกุล ทั้งพืชตระกูลถั่ว หญ้า ผัก ไม้ผลและไม้ประดับ ทำให้ผลผลิตเน่าเสียอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่สามารถขนส่งระยะไกลได้ การระบาดของโรคเกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรงในเขตที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง เชื้อราสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืชตั้งแต่ลำต้น ใบ ก้าน ดอก ผล และเมล็ด โดยการเข้าทำลายของเชื้ออาจเป็นได้ทั้งแบบมีเชื้อหลายสปีชีส์เข้าทำลายพืชชนิดเดียว หรือเชื้อสปีชีส์เดียวเข้าทำลายพืชหลายชนิดก็ได้ เชื้อรา Colletotrichum spp. สามารถเข้าทำลายเซลล์พืชโดยตรงไม่ต้องผ่านช่องเปิดธรรมชาติหรือบาดแผล สามารถเข้าทำลายผลผลิต ตั้งแต่ระยะดอก ผลอ่อน โดยยังไม่แสดงอาการของโรค จัดเป็นการเข้าทำลายแบบเชื้อแฝง (quiescent infection) จะแสดงอาการชัดเจนเมื่อผลผลิตแก่หรือเริ่มสุก ดังนั้น การเข้าทำลายจะเริ่มตั้งแต่อยู่ในแปลงปลูก 

ลักษณะอาการของโรคที่พบในหอม กระเทียม

ระยะแรกจะเกิดจุดช้ำ ฉ่ำน้ำขนาดเล็ก ต่อมาจะขยายใหญ่เป็นแผลรูปกลมหรือรี เนื้อแผลยุบต่ำกว่าเดิมเล็กน้อย บนแผลมีหยดของเหลวสีชมพูอมส้ม เมื่อแห้งจะเห็นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีน้ำตาลดำ เรียงเป็นวงรีซ้อนกันหลายชั้น ถ้าแผลขยายใหญ่หรือหลายแผลมาชนกันจะทำให้ใบหักพับ แห้งตาย หรือเน่าตายทั้งต้น

การแพร่ระบาด

โรคแพร่ระบาด โดยสปอร์ของเชื้อรา แพร่ไปกับลม ฝน น้ำ แมลง เครื่องมือการเกษตร เมล็ดพันธุ์ หรือหัวพันธุ์ โรคระบาดรุนแรงและรวดเร็วเมื่อมีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด

  1. ก่อนปลูกพืชควรไถตากดิน และหว่านปูนขาว หรือโดโลไมท์ อัตรา 500-1,000 กก. ต่อไร่ เพื่อลดปริมาณเชื้อรา
  2. ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ปราศจากโรค สำหรับหอมหัวใหญ่ ซึ่งปลูกโดยการย้ายกล้า ควรดูแลแปลงกล้า ไม่ให้เกิดโรค ไม่บำรุงต้นกล้าด้วยปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป จะทำให้อ่อนแอต่อโรค ป้องกันโรคโดยแช่ต้นกล้า ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น การัน (azoxystrobin 25% W/V SC) อัตรา 10-15​ มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอราส์ (carbendazim 25%+ Prochloraz 25% WP) อัตรา 25-30 กรัม ต่อน้ำ 20​ ลิตร​ นาน 15-20 นาที​
  3. การปลูกหอมในฤดูฝนควรยกร่องสูงเพื่อให้มีการระบายน้ำดี หากน้ำท่วมขังควรรีบระบายน้ำออกให้หมด
  4. ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เพื่อป้องกันเป็นระยะ เช่น มาเฟอร์​ (mancozeb 80% WP) อัตรา 50-80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10​ วัน
  5. หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากเริ่มสังเกตุ​พบอาการของโรค ควรรีบพ่นสารป้องกันกำจัดโรค เช่น คลอราส์ (carbendazim 25%+ prochloraz 25% WP) อัตรา 25-30 กรัม ต่อน้ำ 20​ ลิตร​ หรือ ออนเนอร์ (prochloraz 45% W/V EC ) อัตรา 15​-20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ การัน (azoxystrobin 25% W/V SC) อัตรา 10-15​ มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สโตรดี้​ (azoxystrobin​ 20% + difenoconazole​ 12.5% SC)​ อัตรา 10-15​ มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเลือกสารป้องกันกำ​จัดโรค​พืชตัวใดตัวหนึ่ง​ และผสมร่วมกับ มาเฟอร์​ เพื่อลดปัญหา​การดื้อยาเของเชื้อรา โดยผสมมาเฟอร์​ อัตรา 30-40​ กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน 2-3​ ครั้ง

(การพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช แนะนำให้ผสมสารเสริมประสิทธิภาพ คอมโบเนนท์บี อัตรา 5-10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ด้วยทุกครั้ง)

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

 


จำนวนผู้เข้าชม : 1965708 ครั้ง

แผนผังเว็บไซต์