แมลงหวี่ขาว
แมลงในสกุล “แมลงหวี่ขาว” ที่สร้างปัญหาให้กับพืชผลในประเทศไทยมีหลายชนิดมาก แต่ที่สร้างความเสียหายและพบได้บ่อย ๆ มี 3 ชนิด คือ แมลงหวี่ขาวยาสูบ แมลงหวี่ขาวโรงเรือน และแมลงหวี่ขาวใยเกลียว นอกจากนี้ยังมีแมลงหวี่ดำส้มอีกด้วย

แมลงหวี่ขาวยาสูบ เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของพืชผัก พริก มะเขือเทศ มะเขือ ยาสูบ มันฝรั่ง ผักใบหลายชนิด
ชื่อสามัญ (ไทย) : แมลงหวี่ขาวยาสูบ
ชื่อสามัญ (อังกฤษ) : Tobacco whitefly (อ่านออกเสียงว่า; ทะแบคโค ไวท์ไฟล์) หรือ Sweet potato whitefly (อ่านออกเสียงว่า; สวีท พะเทโท ไวท์ไฟล์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ??????? ?????? (Gennadius)

แมลงหวี่ขาวโรงเรือน เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของพืชผัก พริก มะเขือเทศ มะเขือ ยาสูบ มันฝรั่ง ผักใบหลายชนิด
ชื่อสามัญ (ไทย) : แมลงหวี่ขาวโรงเรือน
ชื่อสามัญ (อังกฤษ) : Greenhouse whitefly (อ่านออกเสียงว่า; กรีนเฮาซ์ ไวท์ไฟล์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ???????????? ???????????? westwood

แมลงหวี่ขาวใยเกลียว เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของไม้ผลหลายชนิด เช่น ฝรั่ง มะพร้าว พืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ไม้ดอกไม้ประดับ
ชื่อสามัญ (ไทย) : แมลงหวี่ขาวใยเกลียว
ชื่อสามัญ (อังกฤษ) : Spiralling Whitefly (อ่านออกเสียงว่า; สไพเริลลิง ไวท์ไฟล์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ??????????? ????????? Russell

แมลงหวี่ขาว เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญและสร้างความเสียหายให้กับพืช มากกว่า 600 ชนิด และในประเทศไทยมีการรายงานชนิดของแมลงหวี่ขาวที่สำรวจพบและจำแนกชนิดกว่า 50 ชนิด (genus) และที่ยังไม่สามารถจำแนกชนิดได้อีกมากกว่า 50 ชนิด (รวมในไทยพบมากกว่า 90-100 ชนิด ขึ้นไป) แมลงหวี่ขาวจัดอยู่ในอันดับ “เฮมิพเทอร่า Hemiptera” วงศ์ “อัลเลย์โรไดดี้ Aleyrodidae” ตัวอย่างแมลงหวี่ขาวที่อยู่ในวงศ์เดียวกันนี้ เช่น แมลงหวี่ขาวละหุ่ง แมลงหวี่ขาวมะพร้าว แมลงหวี่ขาวส้ม แมลงหวี่ขาวหม่อน แมลงหวี่ขาวพุทรา แมลงหวี่ขาวปีกลายอ้อย แมลงหวี่ขาวอ้อย เป็นต้น

แมลงหวี่ขาว เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก ที่อยู่ในอันดับ (order) เดียวกับเพลี้ยจักจั่น และมวน โดยแมลงหวี่ขาวยาสูบและแมลงหวี่ขาวโรงเรือนขึ้นชื่อว่าเป็นแมลงที่สร้างความเสียหายให้กับพืชรุนแรงมาก นอกจากตัวเต็มวัยและตัวอ่อนจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชแล้วยังเป็นพาหะแพร่เชื้อไวรัสใบด่างที่สำคัญหลายชนิด และมูลเหนียวที่ถ่ายออกมา มีรสหวานคล้ายน้ำผึ้ง (honeydew) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของเชื้อราดำอีกด้วย ส่วนแมลงหวี่ขาวใยเกลียวไม่เป็นพาหะนำโรคไวรัส

แมลงหวี่ขาวตัวเต็มวัย ตามลำตัวและปีกจะมีไขเป็นผงสีขาวปกคลุมตัว เมื่อถูกรบกวนจะเคลื่อนที่หรือบินหนีอย่างรวดเร็วในช่วงกลางวัน ส่วนช่วงพลบค่ำ พบว่าการเคลื่อนไหวจะลดลง ตัวเต็มวัยมักอยู่รวมกลุ่มกันอยู่บริเวณใต้ใบส่วนยอดของพืช ว่างไข่เป็นฟองเดี่ยว หรือหลายฟองเรียงกัน ตัวอ่อนจะมีรูปร่างแบนราบไปกับผิวใบและไม่ค่อยเคลื่อนไหว ระยะเข้าดักแด้สำหรับแมลงหวี่ขาวยาสูบและแมลงหวี่ขาวโรงเรือนรูปร่างจะไม่ต่างจากตัวอ่อนนัก โดยจะมีสีเข้มกว่าเล็กน้อยและมีจุดตา 2 จุด ส่วนแมลงหวี่ขาวใยเกลียวระยะดักแด้จะมีไขสีขาวห่อหุ้มและมีเส้นใยสีขาวพัน

วงจรชีวิตของแมลงหวี่ขาวทั่วไป มีอายุขัยเฉลี่ย 30-55 วัน
ตัวเต็มวัย หรือวัยเจริญพันธุ์ : มีอายุ 10-24 วัน มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร เพศเมียสามารถวางไข่ ได้ถึง 60-300 ฟอง
ไข่ : มีสีเหลือง จนถึงสีเหลืองอมส้ม รูปทรงคล้ายลูกรักบี้ ไข่ ใช้เวลาราว 3-7 วัน จึงฟักเป็นตัวอ่อน
ตัวอ่อน : มีลำตัวแบนราบ ทรงรี มีสีเหลืองอ่อน หรือสีเหลืองปนเขียว ตัวอ่อนจะมีการพัฒนาเป็นวัยต่าง ๆ 4 วัย ผ่านการลอกคราบ 3 ครั้ง โดยใช้เวลาหลังจากฟักออกจากไข่ ราว 13-18 วัน จึงเข้าดักแด้
ดักแด้ : แมลงหวี่ขาวเข้าดักแด้ ประมาณ 5-7 วัน จึงพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย

แมลงหวี่ขาวยาสูบ และแมลงหวี่ขาวโรงเรือน เป็นแมลงศัตรูพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการพัฒนาความต้านทานต่อสารกำจัดแมลง หรือดื้อยาหลายชนิด หลายกลุ่มสาร การใช้สารกำจัดแมลงหวี่ขาว จึงควรคำนึงถึงการสลับกลุ่มสารประกอบด้วย หรือผสมสารกำจัดแมลง กลุ่ม 16 “แอ็กบู” ของยักษ์ใหญ่ เพื่อช่วยลดความต้านทานต่อสารกำจัดแมลง

การกำจัดแมลงหวี่ขาว

เมื่อพบการระบาด ยักษ์ใหญ่แนะนำ พ่น “แอ็กมิพริด” สารกำจัดแมลง กลุ่ม 4A ที่มีคุณสมบัติ... ดังนี้
ยาเย็น
ละลายง่าย เป็นเนื้อเดียวกับน้ำ
ไม่อุดตันหัวพ่น ไม่ตกตะกอน
ดูดซึมเร็ว ระยะปลอดฝนสั้น
แทรกซึมจากหน้าใบสู่ใต้ใบ
เคลื่อนย้ายในต้นพืชได้ดี
ออกฤทธิ์ทั้งทางสัมผัส กินตาย ถูกตัวตาย
ทำลายระบบประสาทส่วนกลางของเพลี้ยที่บริเวณปลายประสาท
ยับยั้งการส่งกระแสประสาท และการกระแสประสาทผิดปกติ เกิดการอั้นของกระแสประสาท
เพลี้ยเกิดอาการเกร็ง ชักกระตุก หยุดการเคลื่อนไหวและกิจกรรมต่าง ๆ
เพลี้ยเป็นอัมพาตและตายอย่างรวดเร็ว

ยักษ์ใหญ่ แนะนำพ่น “แอ็กมิพริด” อัตรา 20-25 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออัตรา 200-250 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นต่อเนื่อง 3-4 ครั้ง ทุก 4-5 วัน เมื่อพบการระบาดของแมลงหวี่ขาว

ข้อแนะนำเพิ่มเติม ควรผสม “แอ็กมิพริด” ร่วมกับ “แอ็กบู” ในอัตรา “แอ็กบู” 40-60 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 400-600 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และผสมสารลดแรงตรึงผิว “คอมโบเนนท์-บี” ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสารให้แทรกซึมผ่านชั้นไขที่ปกคลุมตัวแมลงหวี่ขาว

โดยผสม “คอมโบเนนท์-บี” อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออัตรา 50-100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

หลังพ่น “แอ็กมิพริด” ครบ 3-4 ครั้งแล้ว ควรงดเว้นใช้สารกลุ่มนี้และสลับไปใช้สารกลุ่มอื่นทดแทน อย่างน้อย 2-3 กลุ่ม จึงวนกับมาใช้ “แอ็กมิพริด” 


จำนวนผู้เข้าชม : 1909630 ครั้ง

แผนผังเว็บไซต์