หนอนกระทู้ข้าวโพด
หรือ “หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด”
ชื่อสามัญ (ไทย) : หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด
ชื่อสามัญ (อังกฤษ) : Fall armyworm (อ่านออกเสียงว่า; ฟอล อาร์มีเวอม)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ?????????? ?????????? JE Smith

หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เป็นแมลงศัตรูพืชข้ามถิ่นที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ราวช่วงปลายปี 2561 และแพร่ระบาดรุนแรงช่วงปลายปี 2562-2563 และการระบาดลดลงในช่วงกลางปี 2564 ดั้งเดิมเป็นหนอนในพื้นถิ่นแถบทวีปอเมริกากลาง ก่อนอพยพเคลื่อนย้ายไปทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ ไทย และจีนตอนใต้

การอพยพข้ามถิ่นระดับทวีปนี้ เป็นผลพวงมาจากความสามารถของตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นผีเสื้อกลางคืนที่มีความสามารถในการบินได้ไกลมากกว่า 100-200 กิโลเมตร ต่อวัน โดยอาศัยแรงลม หนอนผีเสื้อกลางคืนในสกุล “สโพดอพเทอร่า ??????????” หนอนในสกุลนี้ที่เรารู้จักกันดี เช่น หนอนกระทู้ผัก และหนอนกระทู้หอม มักมีชื่อเรียก หรือฉายา ว่า “armyworm” ซึ่งมีความหมาย ถึง การเคลื่อนย้าย การอพยพ และการเข้าทำลายของตัวหนอน หรือผีเสื้อ ที่เป็นลักษณะกลุ่มใหญ่คล้ายการเคลื่อนกำลังพลของทหาร

นอกจากนี้ หนอนกระทู้ข้าวโพด ยังได้รับฉายา “จอมทำลายล้าง /Devastating insect” เนื่องจากเป็นหนอนกระทู้ที่มีความสามารถในการปรับพฤติกรรมการกิน ซึ่งสามารถกินได้ทุกส่วนของพืช ตั้งแต่รากจนถึงส่วนยอด และปรับตัวเพิ่มพืชอาหารในกรณีพืชอาหารหลักขาดแคลน หรือไม่สมบูรณ์ โดยมีพืชอาหารมากกว่า 350 ชนิด

ความสามารถในการพัฒนาความต้านทานต่อสารกำจัดแมลง (ดื้อยา) ที่โดดเด่น... เป็นอีกประเด็นของหนอนกระทู้ข้าวโพด ที่กล่าวถึงกันน้อยมาก แม้ในช่วง 3-4 ปีมานี้ จะยังไม่มีการรายงานความต้านทานต่อสารกำจัดแมลงในไทย แต่ก็ควรเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ตลอด เพราะมีรายงานกล่าวว่า หนอนกระทู้ข้าวโพดสร้างความต้านทานต่อชีวภัณฑ์บาซิลัส ทูริงเยนซีส ในต่างประเทศ

สำหรับในประเทศไทย พืชอาหารหลักของหนอนชนิดนี้ยังคงเป็นข้าวโพด การเข้าทำลายในพืชอื่นยังไม่ค่อยพบเท่าที่ควร โดยในข้าวโพดผีเสื้อหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด จะเริ่มวางไข่ตั้งแต่หลังข้าวโพดงอก 3-4 วัน และพบว่ามีการวางไข่ตลอดช่วงการเจริญเติบโต นั้นคือ ใน 1 ฤดูกาลเพาะปลูกสามารถพบการเข้าทำลายซ้ำของหนอนได้หลายรอบ โดยเฉพาะในช่วงข้าวโพดหลังงอกจนถึงข้าวโพดอายุ 30-45 วัน ในระยะข้าวโพดออกฝักจะพบการระบาดน้อยลง

การระบาดมักรุนแรงในช่วงฤดูแล้ง หรือก่อนเข้าฤดูมรสุม

การกัดกินข้าวโพดของหนอน สามารถกัดกินได้ทุกส่วนของข้าวโพด ในสภาวะอากาศร้อนในตอนกลางวัน หนอนจะหลบซ่อนตัวในดิน หญ้าหรือโคนต้นข้าวโพด สำหรับข้าวโพดอายุไม่เกิน 15-20 วัน บางครั้งพบว่าหนอนที่หลบร้อนเข้ากัดกินรากและโคนต้น ทำให้ต้นเหี่ยวเฉาและตายได้ ในข้าวโพดต้นโต อายุ 30 วัน ขึ้นไป โดยปกติหนอนจะชอบกัดกินใบข้าวโพดมากกว่าส่วนอื่น แต่ในกรณีที่สภาพอากาศร้อน แสงแดดจัด หรือใบข้าวโพดยังไม่มากพอที่จะบังแสง หนอนอาจหลบตามซอกกาบใบ กัดกินกาบใบหรือเจาะกินลำต้นข้าวโพด นอกจากนี้ดอกข้าวโพด ไหม และฟัก ก็พบการเข้าทำลายของหนอนเช่นกัน

ในช่วงฤดูแล้ง อากาศร้อนจะพบว่าหนอนออกกัดกินข้าวโพดในเวลาใกล้ค่ำและกลางคืน มากกว่าเวลากลางวัน

วงจรชีวิตของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด มีอายุขัยเฉลี่ย 30-40 วัน
ตัวเต็มวัย หรือวัยเจริญพันธุ์ : ผีเสื้อจะออกผสมพันธุ์และวางไข่ตอนกลางคืน เพศเมีย สามารถวางไข่ได้ 1,500-2,000 ฟองต่อตัว ผีเสื้อมีอายุประมาณ 10-21 วัน
ไข่ : เพศเมียวางไข่เป็นกลุ่ม ๆ ละประมาณ 100-200 ฟอง ตามหน้าใบ ใต้ใบหรือลำต้น และสร้างใยคุมกลุ่มไข่นั้นไว้ หลังจากวางไข่ 2-3 วัน ไข่จะเริ่มฟักเป็นตัวหนอน
ตัวอ่อน หรือหนอน : หลังจากฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ หนอนจะยังอยู่รวมกันอยู่ระยะหนึ่ง แทะกินผิวใบเป็นลอยขีดสีขาว เมื่อหนอนเติบโตเข้าสู่วัยที่ 2-3 จะเริ่มแยกย้ายไปใบอื่น ต้นอื่น บางครั้งหากหนอนมีจำนวนมากแต่อาหารมีน้อย หนอนอาจกินกันเองบ้าง หนอนในวัยที่ 4-5 เป็นวัยที่มีความดุร้าย ก้าวร้าวและกัดกินทุกอย่าง ส่วนวัยที่ 6 จะเริ่มเคลื่อนที่ช้าลง และลดการกิน เมื่อหนอนโตเต็มที่และจะเตรียมตัวเข้าดักแด้ โดยทิ้งตัวลงดินเพื่อเข้าดักแด้ เฉลี่ยระยะตัวหนอน มีอายุราว 14-22 วัน และลอกครบ 5 ครั้ง
ดักแด้ : หลังจากเข้าดักแด้ 7-13 วัน จะพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย และพร้อมผสมพันธุ์และวางไข่ทันที

การกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด

เมื่อพบการระบาด ยักษ์ใหญ่แนะนำ พ่น “อินออน” สารกำจัดแมลง กลุ่ม 6 ที่มีคุณสมบัติ... ดังนี้
ดูดซึมเร็ว
แทรกซึมจากหน้าใบสู่ใต้ใบ
เคลื่อนย้ายได้ดีในต้นพืช
ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
ทำให้การส่งกระแสประสาทผิดปกติ
กล้ามเนื้อชัก เกร็งกระตุก
หนอนเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และตาย
สูตรเม็ดเกล็ดพิเศษ ละลายเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ
ไม่ฟุ้ง ไม่มีกลิ่น

ยักษ์ใหญ่ แนะนำพ่น “อินออน” ในอัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร
อาจเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดโดยผสมรวมกับสารเสริมประสิทธิภาพ “คอมโบเนนท์-บี” อัตรา 3-5 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
หรือ 30-50 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร

เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดของหนอนในระยะเริ่มต้น และพ่นซ้ำหากพบการระบาดรอบใหม่
และสลับสารเมื่อพ่น “อินออน” ต่อเนื่องนาน 30 วัน โดยพ่นสลับด้วย
“อินโกร” อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร) หรือ
“เมอร์เล็ท” อัตรา 30-35 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (300-350 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร)


Number of visitors : 1909676 Views

Sitemap