เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
ชื่อสามัญ (ไทย) : เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ : เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยน้ำมัน
ชื่อสามัญ (อังกฤษ) : Durian leafhopper (อ่านออกเสียงว่า; ดิวเรียน ลีฟฮอพเพอะ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ??????? ???????? Hongsaprug

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน เป็นแมลงศัตรูพืชที่จัดอยู่ในอันดับ “เฮมิพเทอร่า Hemiptera” วงศ์ “ซิคาเดลลิดี้ Cicadellidae” มีญาติที่ใกล้ชิดอยู่ในวงศ์เดียวกันอย่าง เพลี้ยจักจั่นฝ้าย เพลี้ยจักจั่นฝอยมะม่วง เพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วง (เพลี้ยจักจั่นมะม่วง) เพลี้ยจักจั่นสีเขียวในข้าว เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยักในข้าว เพลี้ยจักจั่นแดงในอ้อย เป็นต้น

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษ ตามพืชที่พบและลักษณะของการทำลาย คือ “Durian” แปลว่า ทุเรียน คือพืชที่พบเจอในลำดับแรก ๆ และเป็นศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายในระดับเศรษฐกิจ และ “leafhopper” มาจากการผสมคำ 2 คำ คือ “leaf” แปลว่า ใบ คือส่วนที่ถูกเข้าทำลายหลัก กับ “hopper” แปลว่า ผู้กระโดด ซึ่งเรียกตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแมลงในวงศ์นี้ คือ มีลักษณะการเคลื่อนไหวแบบกระโดดและกระโดดเฉียงไปด้านข้างของลำตัวคล้ายปู นอกจากนี้ยังมีคำที่ใช้เรียกลักษณะอาการของใบพืชที่ถูกทำลาย คือ hopper burn ซึ่งหมายถึง อาการใบพืชที่ถูกทำลายคล้ายน้ำร้อนลวกใบ

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน ไม่ใช่แมลงศัตรูพืชที่พึ่งพบใหม่ แต่เป็นเพลี้ยที่พบเจอมานานในสวนทุเรียน ในระยะ 4-5 ปีหลังมานี้เอง ที่พบว่า สร้างความเสียหายกับใบอ่อนทุเรียนมากขึ้น จนในบางครั้งรุนแรงกว่าเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนและมีความทนทานต่อสารกำจัดแมลงมากขึ้น

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน ทั้งตัวเต็มวัยและตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียน อาการใบไหม้ของใบอ่อนเกิดจากน้ำลายของ​เพลี้ย​จักจั่น​ฝอย​ ๆ​ มีปากแบบ​เจาะดูด​ (piercing sucking type) การดูดกินน้ำเลี้ยง​ไม่ทำให้เซลล์​พืชเสียหาย​ แต่ความเสียหายเกิดจากการใช้เอนไซม์พิษในน้ำลาย​ย่อยผนังเซลล์ใบพืช​ ทำให้ผนังเซลล์บางลงและแตก หลังจากนั้นสารอาหารเหลว​ หรือน้ำเลี้ยง​ภายในเซลล์​จะซึมออกมา​ อาการผนังเซลล์แตกนี้ทำให้เกิดอาการใบไหม้​ "hopper burn" โดยปกติเพลี้ยจักจั่นฝอยมักดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณขอบใบมากกว่าเนื้อใบ​ อาการใบไหม้ระยะแรกมีลักษณะ​คล้าย​ถูกน้ำร้อน​ลวก​ ต่อมาเมื่อแผลไหม้เริ่มแห้งจะทำให้ขอบใบม้วนงอ หากถูกทำลายรุนแรง​ใบอ่อนจะร่วงหล่น​ การระบาดของเพลี้ยต่อเนื่องจะทำให้ใบอ่อน​เกิดอาการไหม้รุนแรงทั้งต้นและใบร่วงเหลือแต่ก้าน ชาวสวนเรียกอาการนี้ว่า “ยอดก้านธูป”

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน ด้วยพึ่งมีความสำคัญในระยะหลังจึงทำให้ที่ผ่านมายังไม่มีการค้นคว้าถึงวงจรชีวิตมากนัก ส่วนใหญ่มักอ้างอิงวงจรชีวิตตาม “เพลี้ยจักจั่นฝ้าย” ซึ่งมีความใกล้ชิดทางชีววิทยา

เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน เมื่ออ้างอิงตามเพลี้ยจักจั่นฝ้าย จะมีวงจรชีวิตดังนี้
ตัวเต็มวัย หรือวัยเจริญพันธุ์ : มีอายุเฉลี่ยราว 21-28 วัน โดยเพศเมียมีอายุยืนยาวกว่าเพศผู้ ปกติเพศเมียมีสัดส่วนมากกว่าเพศผู้ 1.3 ต่อ 1 (ตัว)
ไข่ : เพศเมีย วางไข่เป็นฟองเดี่ยว ในเนื้อเยื่อเส้นใบ หรือบางครั้งวางไข่ที่ก้านใบอ่อน ๆ เพศเมีย 1 ตัว วางไข่เฉลี่ย 15 ฟอง ไข่ใช้เวลา 6-7 วัน จึงฟักออกมาเป็นตัวอ่อน
ตัวอ่อน : ตัวอ่อนเพลี้ยจักจั่นฝอยไม่มีปีก เมื่อแรกฟักจะมีรยางค์ที่ต่อมาพัฒนาเป็นปีกคล้ายลูกไก่ที่พึ่งฟัก ตัวอ่อนมีการเจริญเติบโต 5 วัย โดยการลอกคราบคล้ายปูนิ่ม เมื่อลอกคราบแต่ละครั้งตัวจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ตัวอ่อนนี้มีน้ำลายที่เป็นพิษเช่นเดียวกับตัวเต็มวัย และมีอายุเฉลี่ย 7-8 วัน แต่อาจนานมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ

การกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน

ในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงนานมากกว่า 1 สัปดาห์ และเป็นช่วงที่ทุเรียนมีใบอ่อน ชาวสวนควรเฝ้าสังเกต เมื่อพบควรรีบกำจัดแต่เนิ่น ๆ
ยักษ์ใหญ่ แนะนำ พ่น “แอ็กมีแซม” สารกำจัดแมลง กลุ่ม 4A ที่มีคุณสมบัติสำคัญ คือ...
ออกฤทธิ์ดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว
แทรกซึมจากหน้าใบสู่ใต้ใบ
เคลื่อนย้ายในต้นพืชได้ดี
เม็ดเกล็ดละลายน้ำง่าย ไม่ฟุ้งกระจาย
ออกฤทธิ์ทั้งทางสัมผัส กินตาย ถูกตัวตาย
ทำลายระบบประสาทส่วนกลางของเพลี้ยที่บริเวณปลายประสาท
ยับยั้งการส่งกระแสประสาท และการกระแสประสาทผิดปกติ เกิดการอั้นของกระแสประสาท
เพลี้ยเกิดอาการเกร็ง ชักกระตุก หยุดการเคลื่อนไหวและกิจกรรมต่าง ๆ
เพลี้ยเป็นอัมพาตและตายอย่างรวดเร็ว

พ่น “แอ็กมีแซม” อัตรา 15-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 150-200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ควรผสมร่วมกับสารเสริมประสิทธิภาพ “คอมโบเนนท์-บี” อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 50-100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร โดยพ่นต่อเนื่องทุก 7 วัน


จำนวนผู้เข้าชม : 1814346 ครั้ง

แผนผังเว็บไซต์